วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

Video Conference

 Video Conference
       ระบบการติดต่อสื่อสารชนิดหนึ่ง ที่สามารถรับ-ส่งข้อมูลภาพ และข้อมูล เสียง ระหว่างจุดต่อจุดหรือจุดต่อหลายๆจุดโดยผ่านระบบสื่อสาร ซึ่งจะเป็นลักษณะของการโต้ตอบซึ่งกันและกันแบบสองทางหรือพูดง่ายๆก็คือระบบประชุมทางไกลที่ผสมผสานระหว่างภาพและเสียง ให้เปรียบเสมือนมีการประชุมอยู่ในห้องเดียวกัน
  •  ด้านการศึกษา

แม้แต่ในสถาบันการเรียนการสอนเช่นมหาวิทยาลัยก็ให้ความสำคัญของการเรียนการ
สอนหลายสถาบันมีปัญหาเรื่องขาดแคลนอาจารย์ผู้เชี่ยวชาญโดยผู้สอนไม่จำเป็นต้อง
เดินทางไปสอนถึงสถานศึกษานั้นๆผู้สอนอาจจะอยู่ที่กรุงเทพฯแล้วทำการสอนไปยัง
ต่างจังหวัดได้ซึ่งช่วยลดปัญหาการขาดแคลนบุคลากรทางการศึกษาลดภาระค่าใช้จ่าย
ในการเดินทางของสถานศึกษาดังนั้นวิดีโอคอนเฟอร์เรนซ์เป็นเทคโนโลยีการสื่อสาร
ข้อมูลทำให้สามารถส่งภาพเสียงได้อย่างรวดเร็วมีแนวโน้มที่จะนำมาแก้ปัญหาต่างๆ
เหล่านี้ได้อย่างดี
  •  ด้านธุรกิจ
มีการประยุกต์ใช้เพื่อทำการPresentงานระหว่างสาขาที่อยู่ห่างกันทั้งสรุปผลงานของ
แต่ละสาขามายังสาขาใหญ่และยังสามารถประชุมร่วมกันทีละหลายๆสาขาได้ เพื่อทำการ
แก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นของบริษัท ในกรณีที่สาขาเล็ก ๆไม่กล้าตัดสินใจที่จะแก้ไข
ได้เองผู้ร่วมประชุมสามารถโต้ตอบได้อย่างทันทีแม้จะอยู่คนละสถานที่ซึ่งเป็นการลดระยะ
เวลาในการเดินทางมาประชุมค่าใช้จ่ายในการเดินทางรวมทั้งความเสี่ยงในการเดินทาง
เพื่อเข้าร่วมประชุม
  •  ด้านการแพทย์
มีการนำมาใช้ในโรงพยาบาลหลายแห่งโดยประยุกต์ใช้ร่วมกับอุปกรณ์ทางการแพทย์
เพื่อให้การรักษาคนไข้เป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพเช่นแพทย์ที่อยู่ในชนบทสามารถ
ปรึกษาแพทย์ที่มีความชำนาญเฉพาะโรคที่อยู่ในโรงพยาบาลใหญ่ๆที่อยู่ห่างไกลเพื่อช่วย
ในการวินิจฉัยโรครวมถึงการขอแลกเปลี่ยนข้อมูลทางการแพทย์ได้ เช่น แฟ้มประวัติ
คนไข้ ฟิล์มเอ็กซเรย์ การถ่ายทอดภาพในการผ่าตัดเพื่อสอนนักศึกษาแพทย์

  •  มาตรฐาน
เพื่อให้ระบบวีดีโอคอนเฟอร์เรนซ์มีมาตรฐานที่สามารถทำงานร่วมกันได้กับอุปกรณ์
ของบริษัทต่างๆ ที่ผลิตออกมาทางITU-Tซึ่งเป็นองค์กรด้านโทรคมนาคมสากลจึงได้
กำหนดมาตรฐานระบบการประชุมทางไกลผ่านจอภาพ เป็น 4 หมวดหลัก ๆ คือ
     H.320เป็นมาตรฐานที่ใช้ในเครือข่ายWANเป็นมาตรฐานที่ได้รับความนิยมในครั้ง
แรกๆที่มีการใช้ระบบVCSเนื่องจากรองรับเครือข่ายได้หลายประเภทเช่นISDN
(Intergrated Service Digital Network) Leased Lineรวมทั้งวงจรเช่าอื่นๆ เนื่องจาก
มาตรฐาน H.320 นี้ให้คุณภาพทั้งภาพและเสียงดี อีกทั้งค่าใช้จ่ายไม่สูง จึงทำให้เป็นที่
นิยม นำมาใช้ในเชิงธุรกิจ ทางด้านการศึกษา
     H.321 และ H.310 เป็นมาตรฐานที่รองรับระบบเครือข่าย ATM เพื่อให้ได้คุณภาพ
ของภาพและเสียงที่ดีที่สุดโดยทั่วไปใช้ในอาคารหรือในหน่วยงานเดียวกัน ซึ่งในปัจจุบัน
ไม่ค่อยเป็นที่นิยมใช้กัน
     H.323 เป็นมาตรฐานที่รองรับการใช้งานทั้งเครือข่าย LAN และ WAN โดยมีการ
ส่งผ่านข้อมูลโดยใช้ IP Protocol เป็นหลัก ซึ่งมีคุณภาพที่ดีในระดับเดียวกับ H.320 โดย
มาตรฐานนี้ได้รับความนิยมแพร่หลายอยู่ในปัจจุบันและมาแทนที่มาตรฐาน H.320 ใน
ปัจจุบันเนื่องจากใช้งานง่าย และปัจจุบันมีอุปกรณ์ที่ใช้งานร่วมกันได้เยอะ ทำให้มีการ
นำมาใช้งานอย่างแพร่หลาย
     H.324 เป็นมาตรฐานที่ใช้ในเครือข่ายโทรศัพท์ ซึ่งมีคุณภาพค่อน ข้างต่ำจึงไม่ได้
รับความนิยมในปัจจุบัน
  •  ความเร็วในการสร้างภาพ

     ความเร็วในการสร้างภาพ หรือ FrameRate คืออัตราจำนวนภาพที่ปรากฏบน
หน้าจอใน 1 วินาที ซึ่งหากมีจำนวนภาพใน1วินาทีมากเท่าไหร่ก็จะทำให้คุณภาพของภาพ
เคลื่อนไหวเป็นไปได้อย่างราบรื่นไม่มีการกระตุกในระบบ Video Conference จะใช้
ความเร็วอยู่ 2 ระดับคือ
     ระดับ 15 ภาพต่อวินาที (15 frame/sec)
     ระดับ 30 ภาพต่อวินาที(30 frame/sec) โดยภาพที่ใช้จำนวน Frame Rate สูง
    ก็ต้องใช้ Bandwidth สูงตามไปด้วย ซึ่งความเร็วระดับ 30 frame/sec ใช้ Bandwidth อย่างต่ำประมาณ 384 Kbps
  •  มาตรฐานเสียง
    Narrowbandเป็นคุณภาพของเสียงในระดับเดียวกับเครื่องโทรศัพท์ โดยมีความถี่
อยู่ในช่วง 300 KHz – 3.4 KHz โดยมาตรฐานที่อยู่ในย่านนี้มีดังนี้
     มาตรฐาน G.711 Bandwidth ที่ใช้ 64 Kbps
     มาตรฐาน G.728 Bandwidth ที่ใช้ 16 Kbps
     Wideband คุณภาพเสียงที่ได้มีความชัดเจนกว่า Narrowband ซึ่งมีความถี่อยู่ใน
ช่วง 300 KHz – 7 KHz ทำให้เสียงมีความสดใส และชัดเจนกว่ามาตาฐานในย่านนี้
     Super Wideband เป็นมาตรฐานใหม่ที่ให้คุณภาพเสียงดีที่สุด โดยมีความถี่สูง
ถึง 14 KHz ทำให้คุณภาพที่ได้รับมีคุณภาพดีเทียบเท่ากับเสียงที่มาจากเครื่องเล่น CD
  •  มาตรฐานการบีบอัดข้อมูล

     H.261เป็นมาตรฐานโคเด็กที่ใช้กับความเร็วของสื่อสารขนาดNx64 กิโลบิต
และถ้าเต็มE1(2048)จะได้ภาพเคลื่อนไหวเต็มที่
     H.263เป็นมาตรฐานที่ออกมาทีหลังH.261เพื่อแก้ปัญหาการบีบอัดไฟล์ได้น้อย
ทำให้มาตรฐานH.263มีมาตรฐานในการบีบอัดสัญญาณได้อย่างมีประสิทธิภาพโดย
ใช้Bandwidth น้อยลง
  •  มาตรฐานของภาพ
โดยปกติแล้วระบบ Video Conference จะมีการสร้างภาพอยู่ 2 ลักษณะคือ
     แบบ FCIF มีความละเอียดต่อจุดที่นำมาประกอบเป็นรูปภาพ 352 X 288 จุด
     แบบ QIF มีความละเอียดต่อจุดที่นำมาประกอบเป็นรูปภาพ 176 X 144 จุด
         ดังนั้นแบบ FCIF และ QCF ซึ่งจะมีขนาดที่ปรากฏอยู่บนจอภาพเท่ากันแต่ความ
ละเอียดจะแตกต่างกัน
*** ซึ่งในปัจจุบัน Video Conference สามารถรองรับความละเอียดสูงสุดในระดับ XGA (1024 X 768) ทำให้ภาพที่ได้มีความละเอียดและคมชัดกว่ามาตรฐานทั่วไป
อุปกรณ์ที่สำคัญของ Video Conference
  •  โคเด็ก (CODEX)
       Codec เป็นคำย่อมาจาก CodeและDecodeเป็นตัวเข้ารหัสสัญญาณภาพและเสียงที่ได้จากกล้องและไมโครโฟนส่งผ่านเส้นทางสื่อสารไปยังอีกฝั่งหนึ่งรวมถึงถอดรหัสสัญญาณที่ได้รับมาจากอีกฝั่งให้กลับเป็นสัญญาณภาพและเสียงแสดงบนจอและลำโพง เส้นทางสื่อสารขนาด 384Kbpsขึ้นไปสามารถให้คุณภาพในระดับที่ยอมรับโดยหลักการทำงานของCODECจะแปลงสัญญาณ อนาล็อคทั้งภาพและเสียงให้เป็นสัญญาณดิจิตอลและจะบีบสัญญาณให้เล็กลงโดยดำเนินข้อมูลภายในเฟรมเดียวกัน CODECเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของระบบหลักการทำงาน


  • กล้อง
  •     เป็นกล้องทีวีที่ใช้ในการจับภาพผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อส่งเข้า CODEC แปลงและบีบอัดสัญญาณ มีระบบเซอร์โวเพื่อควบคุมมาจากระยะไกลให้ปรับมุมเงยมุมก้มส่วนซ้ายขวา และซูมภาพได้ ปกติจะมาพร้อมชุดอุปกรณ์ Codec


  • จอภาพ
  •    แสดงภาพของผู้เข้าร่วมประชุมทั้งจากระบบต้นทางและปลายทางเป็นจอภาพที่ใช้กับระบบPALหรือTSCภาพที่ปรากฏมีระบบรวมสัญญาณเพื่อแบ่งจอภาพเป็นจอเล็ก ๆเพื่อดูปลายทางแต่ละด้านหรือดูภาพของตนเองระบบจอภาพอาจขยาย                       เป็น จอใหญ่ขนาดหลายร้อยนิ้วก็ได้
ไมโครโฟน (Microphone)
       ทำหน้าที่รับเสียงจากผู้เข้าร่วมประชุมเพื่อส่ง
ไปยังระบบเสียงปลายทาง


  • แป้นควบคุม (Control Key Pad)
แป้นควบคุมทำหน้าที่ควบคุมกล้องเสียงและเลือกส่งภาพจากแหล่งต่างๆไปยังระบบปลายทาง เป็นสิ่งที่ใช้สำหรับการควบคุมระบบ เช่น ควบคุมการปรับมุมกล้องที่ปลายทางระยะห่างไกล การเลือกการติดต่อปลายทาง การปรับเสียง ปรับระบบสื่อสารต่าง




ที่มา http://www.klongsiam.com/18.2/53631163/mean.html
วันที่ 24/02/56

3 ความคิดเห็น: