วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

หน้าที่ของราก



หน้าที่ของราก
ที่มา  www.oknation.net

รากมีหน้าที่หลักที่สำคัญ คือ
  1. ดูด ( absorption ) น้ำและแร่ธาตุที่ละลายน้ำจากดินเข้าไปในลำต้น
  2. ลำเลียง ( conduction ) น้ำและแร่ธาตุรวมทั้งอาหารซึ่งพืชสะสมไว้ในรากขึ้นสู่ส่วนต่างๆของลำต้น
  3. ยึด ( anchorage ) ลำต้นให้ติดกับพื้นดิน
  4. แหล่งสร้างฮอร์โมน ( producing hormones ) รากเป็นแหล่งสำคัญในการผลิตฮอร์โมนพืชหลายชนิด เช่น ไซโทไคนิน จิบเบอเรลลิน ซึ่งจะถูกลำเลียงไปใช้เพื่อการเจริญพัฒนาของส่วนลำต้น ส่วนยอด และส่วนอื่นๆของพืชนอกจากนี้ยีงมีรากของพืชอีกหลายชนิดที่ทำหน้าที่พิเศษอื่นๆ เช่น สะสมอาหาร สังเคราะห์แสง ค้ำจุน ยึดเกาะ หายใจ เป็นต้น



ขณะที่เมล็ดเริ่มงอกส่วนของเอมบริโอที่เจริญออกมาจากเมล็ดลำดับแรกคือ รากรากที่เจริญออกมาเป็นส่วนของแรดิเคคิล ของเอมบริโอ ซึ่งจะเจริญต่อไปหเป็นรากแก้ว  รากแก้วนี้สามารถแตกกิ่งก้านออกไปได้อีกหลายแขนงรากแขนงนี้เจริญจากเพริไซเคิล ในพืชบางชนิดจะเกิดจากรากส่วนอื่นๆของพืชได้ เช่น ลำต้น หรือใบ เรียกว่า รากพิเศษ (adventitious  root)
พืชใบเลี้ยงคู่ส่วนมากจะมีรากแก้ว  ส่วนพืชใบเลี้ยงเดี่ยวรากแก้วมักหยุดเจริญและหายไป  แต่จะมีรากพิเศษเจริญมาแทน  รากพิเศษนี้สามารถแตกกิ่งก้านสาขาเหมือนพืชใบเลี้ยงคู่  หรืออาจไม่แตกกิ่งก้านสาขา
ตามปกติรากของพืชมีหน้าที่สำคัญคือ  ดูดน้ำ  และธาตุอาหารต่างๆ  จากดิน  และลำเลียงผ่านไปยังส่วนต่างๆของพืช 
กระชาย มันเทศ  หัวไชเท้า(หัวผักกาดขาว) หัวแครอท รากของพืชพวกนี้นั้นจะมีขนาดใหญ่กว่ารากธรรมดาเนื่องจากเป็นรากที่ทำหน้าที่เก็บสะสมอาหารเช่นเดียวกับรากมันแกว
ในบริเวณที่มีกระแกน้ำนิ่ง  เช่น  ในป่าพรุ  หรือมีน้ำขึ้นน้ำลงตลอดเวลา เช่น ป่าชายเลน พืชขนาดใหญ่
ที่เจริญเติบโตในบริเวณนี้จะมีรากที่แตกออกด้านข้างของลำต้นพุ่งลงไปในดินช่วยพยุงลำต้น  เช่น
รากค้ำของต้นโกงกางที่ขึ้นอยู่ตามป่าชายเลนรากค้ำของต้นอ้ายบ่าวที่ขึ้นในป่าพรุ  รากแขนงของพืชบางชนิดในบริเวณป่าชายเลน เช่น แสม ลำพู  จะมีรากโผล่ขึ้นมาเหนือพื้นดิน  และผิวน้ำเพื่อทำหน้าที่หายใจ เรียกว่า  รากหายใจ
นอกจากนี้รากยังช่วยดักธาตุอาหารและอินทรียวัตถุต่างๆ ให้แก่พืชอีกด้วย พืชบกบางชนิดมีรากค้ำ เช่น
ข้าวโพด ข้าวฟ่าง เตย พืชที่อาศัยอยู่บนต้นไม้อื่นบางชนิด เช่น กล้วยไม้จะมีรากอากาศช่วยในการดูดซับความชื้น
และถ้ารากมีสีเขียวก็จะสามารถสังเคราะห์ด้วยแสงได้อีกด้วย แพงพวยน้ำที่ลอยน้ำ ถ้านักเรียนยกลำต้นขึ้น
เหนือน้ำจะเห็นว่า มีรากบางรากเปลี่ยนแปลงเป็นทุ่นช่วยพยุงให้ลำต้นลอยน้ำได้



ที่มา : http://nd-biology.tripod.com/mysite/nd_biology_04.html
วันที่ 24 กุมภาพันธ์  2556

4 ความคิดเห็น:

  1. ตัวหนังสือควรมีสีเพื่อให้น่าอ่านขึ้นค่ะ

    ตอบลบ
  2. เน้นหัวข้อย่อยด้วยนะ

    ตอบลบ
  3. มีรูปน้อยไม่ค่อย Support กัยเนื้อหาเท่าไรคับ

    ตอบลบ